ต่อภาษีรถยนต์ไม่ต้องไปถึงขนส่ง
Knowledge

ต่อภาษีรถยนต์ไม่ต้องไปถึงขนส่ง เสาร์-อาทิตย์ ก็ทำได้

ต่อภาษีรถยนต์ไม่ต้องไปถึงขนส่ง ก่อนที่เราจะต่อภาษีรถยนต์นั้น เราจะต้องทำ พ.ร.บ. กันก่อน เราถึงจะต่อภาษีรถยนต์ได้ แต่การต่อภาษีรถยนต์นั้นหลาย ๆ คนอาจจะเข้าใจว่าต่อภาษีได้เฉพาะที่กรมขนส่งทางบกเท่านั้น แต่เดี่ยวนี้เราสามารถไปต่อภาษีรถยนต์ได้ตามที่ทำการเอกชนทั่วไปได้ด้วย เพราะฉะนั้นที่ทำการเอกชนบางที่ก็มีบริการการต่อภาษีรถยนต์เสาร์ – อาทิตย์ วันนี้ทาง CarMate ก็ได้รวบรวมที่ต่อภาษีรถยนต์มาเป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ให้เพื่อน ๆ ได้รู้กัน

ที่ทำการไปรษณีย์

ต่อภาษีรถยนต์ไม่ต้องไปถึงขนส่ง

หลักฐานที่ต้องเตรียม

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
  • หลักฐานการเอาประกันภัย พ.ร.บ.
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษี

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถมอเตอร์ไซค์
  • รถบดถนน
  • รถพ่วง
  • รถแทรกเตอร์

กรมการขนส่งทางบก (ทุกจังหวัด)

ต่อภาษีรถยนต์ไม่ต้องไปถึงขนส่ง

หลักฐานที่ต้องเตรียม

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
  • หลักฐานการเอาประกันภัย พ.ร.บ.
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษี

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถมอเตอร์ไซค์
  • รถบดถนน
  • รถพ่วง
  • รถแทรกเตอร์

ห้างสรรพสินค้า (สามารถต่อภาษีรถยนต์ เสาร์-อาทิตย์ได้)

  • เซ็นทรัล รามอินทรา เวลา 10.00 – 17.00 น.
  • เซ็นทรัลเวิลด์ เวลา 11.00 – 18.00 น.
  • พาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์ 10.00 – 17.00 น.
  • BIG C เวลา 09.00 – 17.00 น. สาขา รัชดาภิเษก, ลาดพร้าว, รามอินทรา, บางปะกอก, เพชรเกษม, บางบอน, บางใหญ่, อ่อนนุช, บางนา, สำโรง, สมุทรปราการ, แจ้งวัฒนะ, สุขาภิบาล3 และสุวินทวงศ์
  • ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เวลา 8.30 – 15.00 น. (เปิด จันทร์ – ศุกร์)

หลักฐานที่ต้องเตรียม

  • ใบค่มือจดทะเบียนรถยนต์
  • หลักฐานการเอาประกันภัย พ.ร.บ.
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์
  • หนังสือทดสอบส่วนควบและอุปกรณ์ของรถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิง และหนังสือรับรองการตรวจ

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษี

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถมอเตอร์ไซค์

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

หลักฐานที่ต้องเตรียม

  • ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์
  • หลักฐานการเอาประกันภัย พ.ร.บ.
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถยนต์

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษี

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถมอเตอร์ไซค์

เงื่อนไข

  • ต้องเป็นรถที่ไม่ค้างจ่ายภาษี หรือค้างจ่ายไม่เกิน 1 ปี หรือมีค้างจ่ายเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
  • ยื่นขอภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนครบวันกำหนดเสียภาษี ยกเว้นรถที่มีภาษีค้างสามารถจ่ายได้เลย

เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ เปิด จันทร์ – ศุกร์ เวลา 07.30 – 15.30 น.

ประเภทรถที่สามารถต่อภาษี

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง
  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
  • รถมอเตอร์ไซค์

เงื่อนไข

  • รถยนต์มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี
  • รถมอเตอร์ไซค์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี
  • กรมขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จและป้ายวงกลมตามที่อยู่ที่ได้ระบุภายใน 10 วัน จากวันที่จ่ายเงิน
  • ค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20.- ค่าส่งป้ายวงกลม 40.-
  • รถที่มียอดค้างจ่ายเกิน 3 ปี ต้องไปจ่ายที่กรขนส่งทางบกเท่านั้น

เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก

วิธีต่อภาษีออนไลน์

1.เริ่มแรก เข้าเว็บไซค์ eservice.dlt.go.th

2.ลงทะเบียนสมาชิกใหม่เพื่อขอรับรหัสผ่าน

หน้าลงทะเบียน กรอกรายละเอียดให้ครบจากนั้นกดบันทึก เป็นอันเสร็จสิ้น

3.เมื่อได้รหัสมาแล้วก็ให้ เข้าสู่ระบบแล้วให้ไปคลิกที่  ชำระภาษีรถประจำปี

ได้รหัสมาแล้วก็ให้ เข้าสู่ระบบ
คลิกที่  ชำระภาษีรถประจำปี

4.จากนั้นคลิกไปที่ ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต

5.กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ จากนั้นกดลงทะเบียนรถ

6.จากนั้นเมื่อกรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถเสร็จแล้วให้ไปคลิกที่ช่อง ยื่นภาษี

7.สำหรับรถยนต์ที่ติดแก๊สให้กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับหลักฐาน ถ้าไม่มีข้ามไปที่ขั้นตอนที่ 8

8.หากมีพ.ร.บ.แล้ว ให้ติ๊กที่ช่อง มีแล้ว สำหรับคนที่ยังไม่มี ติ๊กที่ช่องซื้อ พ.ร.บ. ออลไลน์ เมื่อทำการซื้อเรียบร้อยแล้ว จากนั้นกรอกรายละเอียด ประกัน เลขที่กรมธรรม์ และวันที่สิ้นสุด จากนั้นจะทราบรายการที่ต้องเสีย เมื่อเสร็จแล้วไปกดที่ กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร

สำหรับคนที่มี พ.ร.บ. แล้วให้ติ๊กที่ช่อง “มีแล้ว” จากนั้นกรอกข้อมูลตามรูปให้ครบถ้วน เมื่อเสร็จแล้วไปกดที่ “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร”
สำหรับคนที่ยังไม่มี ติ๊กที่ช่อง “ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์”  เมื่อเสร็จแล้วไปกดที่ “กรอกสถานที่จัดส่งเอกสาร”

9.หน้านี้ ให้กรอกที่อยู่สำหรับ ทำการจัดส่งเอกสาร กรอกให้ครบถ้วนจากนั้น กดที่เลือกวิธีการชำระเงิน

10.เลือกวิธีชำระเงิน

โดยจะหักบัญชีเงินฝาก (ต้องมีบัญชีเงินฝากและเป็นสมาชิกใช้บริการโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ตกับธนาคาร/หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ)

* ชำระด้วยบัตรเครดิต/บัตรเดบิต (ต้องเป็นผู้ถือบัตรเครดิต/บัตรเดบิต ที่มีสัญลักษณ์ (VISA , MASTER)

ค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย ค่าจัดส่งเอกสาร รายการละ 32 บาท  ค่าธรรมเนียมธนาคาร รายการละ 20 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้บัตร (กรณีชำระด้วยบัตรเครดิต) ร้อยละ 2 รวม Vat 7% ของค่าธรรมเนียม

11.จากนั้นพิมพ์ใบแจ้งชำระภาษีรถ แล้วนำไปชำระ ณ เคาน์เตอร์หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ

หลังจากนั้นชำระเงินแล้ว กรมการขนส่งทางบก จะส่งใบเสร็จรับเงิน เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และ กรมธรรม์พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ผู้ชำระเงินทางไปรษณีย์ ท่านเจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปบันทึกได้ ณ หน่วยงานทะเบียนกรมการขนส่งทางบก ทั่วประเทศ

หักฝากธนาคารและหน่วยงานไหนได้บ้าง

บริการหักบัญชีออนไลน์ ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.กรุงศรีอยุธยา และ ธ.ยูโอบี

– บริการชำระด้วยบัตรเครดิตออนไลน์ ได้แก่ ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงศรีอยุธยา

– บริการรับชำระตามใบแจ้งชำระภาษีรถ

* ที่เคาน์เตอร์ธนาคารบริการ ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.กรุงเทพ , ธ.ธนชาต , ธ.ก.ส ,ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย , ธ.กรุงศรีอยุธยา , ธ.ทหารไทย , ธ.ยูโอบี , ธ.ไทยพาณิชณ์, เคาน์เตอร์เซอร์วิส, ทรู มันนี่ เซอร์วิส และ เทสโก้ โลตัส

* ชำระที่ตู้ ATM ได้แก่ ธ.กรุงไทย , ธ.ธนชาต , ธ.กรุงเทพ , ธ.ทหารไทย, ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย, ธ.กรุงศรีอยุธยา, ธ.ยูโอบี และ ธ.ไทยพาณิชย์

– บริการรับชำระทางโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ ทรู มันนี่ เซอร์วิส

: ต่อภาษีรถยนต์ไม่ต้องไปถึงขนส่ง